วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย


สรุปวิจัย 


ชื่อวิจัย  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์น้อกห้องเรียน

ผู้ทำวิจัย  สุมาลี  หมวกไธสง

ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเพื่อ

1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัด

กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กอายุ 5-6 ปี  กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่2

ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล ปีที่3

ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180คน

ตัวแปรที่ศึกษา

1.ตัวแปรอิสละ  ได้แก่  กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.ตัวแปรตาม   ได้แก่  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์


นิยามศัพท์เฉพาะ

1.เด็กปฐมวัยหมายถึง  เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ5-6 ปี  ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่3

ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  สุวรรณภูมิ สังกัด คณะกรรมการการศึกษา

เอกชน  สมุทรปราการ

2.การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน หมายถึง กระบวนการจัด

ประสบการณ์ในการศึกษาหาความรู้ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยพานักเรียนไปศึกษานอก

ห้องเรียนเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกห้องเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเกิดความรู้จาก

ประสบการณ์ตรงในสภาพที่เป็นจริง ซึ้งขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยหลักๆคือ

การตั้งคำถามหรือการกำหนดปัญหา  การตั้งสมมุติฐาน หรือ การคาดการคำตอบ



การดำเนินการทดลอง


การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 เป็นเวลา8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ3 ครั้ง

ครั้งละ40นาที รวมเวลาทดลองทั้งสิ้น24ครั้ง ในช่วงเวลา 10.00-11.40 น.โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้

1.สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์

2.นำแบบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

3.ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในการใช้กิจกรรม  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

เวลา8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ3 ครั้ง ครั้งละ40 นาที

4.เมื่อดำเนินการทดลองครบ8สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบการคิด

วิเคราะห์ฉบับเดียวกันก่อนการทดสอบอีกครั้ง

5.นำคะเเนนที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสติถิและมีเกรณ์การแปลความหมาย

ค่าเฉลี่ย


สรุปผลการวิจัย


1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวน

การทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.ผลการเปรีบยเทียบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นก่อนการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอก

ห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


*อาจารย์ค่ะวิจัยของหนูลิงค์ไม่ได้ค่ะ แต่หนูหาวิจัยนี้มาจาก Thailis เขาป้องกันไม่ให้ลิงค์หรือก็อปค่ะ



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย


สรุปเรื่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอนเจ้ามังกรปวดฟัน

        เริ่มแรกเขาก็จะเล่านิทานเกี่ยวกับเจ้ามังกรน้อยชอบกินน้ำอัดลม  จึงทำให้เจ้ามังกรน้อยปวดฟัน

พอพาเจ้ามังกรน้อยไปหาหมอฟันสรุปว่าเจ้ามังกรน้อยฟันผุ  เจ้ามังกรน้อยสงสัยก็เลยถามคุณหมอ


ขั้นทดลองเขาจะมีแก้วน้ำสองใบ  มีใบที่1  กับ ใบที่2  แล้วให้เด็กๆสังเกตดูซิว่าน้ำสองแก้วที่เด็กๆเห็นมี

ลักษณะยังไง เด็กๆตอบว่าน้ำสองแก้วไม่เหมื่อนกันเพราะเด็กๆสังเกต  ว่าแก้วที่1 มีน้ำสีใส ส่วนแก้วที่2

มีน้ำสีขุ่นพอเขาบอกให้เด็กๆดมกลิ่น เด็กๆก็ตอบว่าแก้วที่1 ไม่มีกลิ่น  แก้วที่2 มีกลิ่นฉุน กลิ่นเปรี้ยว

เหมื่อนมะนาว  พอเขาให้เด็กๆเริ่มทดลอง  โดยการนำเปลือกไข่ใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้ง2ใบ  ทิ้งไว้5 

นาทีแล้วให้เด็กสังเกตว่าเปลือกไข่มีลักษณะอย่างไร เด็กตอบว่าแก้วที่1 เปลือไข่เป็นเหมื่อนเดิม  

แก้วที่2 เปลือกไข่ซีดเป็นสีขาว  แล้วพี่ก็ถามคำถามเด็กๆว่าเด็กๆคิดว่าถ้าเรานำเปลือกไข่ไปใส่ในแก้ว

น้ำใบที่2 แล้วทิ้งไว้วันหนึ่งเด็กๆคิดว่าเปลื่อกไข่จะเป็นอย่างไร  เด็กๆก็บอกว่าไข่จะเป็นสีขาว

พอพี่ๆนำไข่ที่แช่น้ำไว้แล้ว1วัน มาให้เด็กๆดู ปรากฎว่าเปลือกไข่ล่อนหมดเลย  

พี่ๆก็เฉลยว่าน้ำแก้วที่1 คือน้ำเปล่าว  แก้วที่2 คือน้ำส้มสายชู   ซึ่งน้ำส้มสายชูมีกรด แอซิติก

สามารถกลัดกล่อนเปลือกไข่ซึ่งมีผลเป็นแคลเซียม  ก็เหมื่อนฟันของเราก็เป็นแคลเซียม 

แล้วน้ำอัดลมเปรียบเป็นน้ำส้มสายชูทำให้ไปกัดกล่อนแคลเซียมในฟันของเรานั้นเอง





วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทินครั้งที่15

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน  พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน104  เวลา 13.10-16.40 น.



วันนี้วันปิดครอสวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                  วันนี้อาจารย์สอนให้ทำแผ่นพับ เพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงข่าวสารของทางโรงเรียน

อาจารย์ให้เกร็ดความรู้ว่า  เวลาที่เราเขียนแผนพับถึงผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเขียนคำที่เป็นทางการ

ให้เราทำหัวข้อให้น่าสนใจ ผู้ปกครองจะได้รับรู้ว่าบุตรหลานของท่านเรียนอะไรบ้าง


แผนพับของกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง  หน่วยแปรงสีฟัน















ประเมิณ

ตนเอง(oneself)

มีความตั้งใจเรียนดี  ออกเเบกิจกรรมช่วยเพื่อน 

เพื่อน(friend)

มีความตั้งใจเรียนดี  สมัคสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ

อาจารย์(porfessor)

อาจารย์ให้เทคนิคเล็กๆกับนักศึกษาก่อนปิดครอส  สอนทำแผนพับ แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย

บันทึกอนุทินครั้งที่14


บันทึกอนุทินครั้งที่14

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 21  พฤศจิกายน พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลา 13.10-16.40 น.




วันนี้อาจารย์นัดส่งนำเสนอสืออีกครั้ง เพื่อที่จะแยกกลุ่มให้สือต่างๆ


กลุ่มที่1  สื่อสอนเรื่องแรงดันของน้ำ



กลุ่มที่2 สื่อสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง





กลุ่มที่3 สื่อสอนเรื่องแรงลม




กลุ่มที่4  สื่อสอนเรื่องเสียง






กิจกรรมที่ทำในห้อง

กิจกรรมทำวาฟเฟิ้ล


ขั้นตอนการทำวาฟเฟิ้ล

1. เตรียมอุปกรณ์



2.ใส่แป้งกับไข่ ใส่น้ำเล็กน้อยอย่าให้เหลวเกินไป




3.หลังจากตีแป้งเสร็จแล้ว เราก็นำแป้งใส่ลงในภาชนะ แล้วนำไส้ที่เราเตรียมไว้มาใส่



4.นำวอฟเฟิ้ลไปอบในเครื่องทำวอฟเฟิ้ล  เสร็จแล้วก็จะออกมาหน้าตาแบบนี้






กิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอบทความ  วิจัย  โทรทัศน์ครู

วิจัยเรื่อง   ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาหน่วยการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล2

วิจัยเรื่อง  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัยด้านวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการทำกิจกรรมน้ำสมุนไพร

โทรทัศน์ครูเรื่อง  กิจกรรมส่องนกนอกห้องเรีย

โทรทัศน์ครูเรื่อง  สอนเด็กอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์

โทรทัศน์ครูเรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย


ประเมิณ

ตัวเรา(oneself)

มีความตั้งใจเรียนดี  จดบันทึกสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆสนใจเรียนดี  ออกไปนำเสนอวิจัยได้ดี เข้าใจง่าย

อาจารย์(professor)

อาจารย์มีการให้เทคนิคในการอ่านวิจัย อ่านยังไงให้สั้นและได้ใจความ

บันทึกอนุทินครั้งที่13


บันทึกอนุทินครั้งที่13

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันศุกร์ที่  14 พฤศจิกายน พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลา 13.10-16.40 น.



วันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่มที่เหลือออกมาสอนเเผนให้เสร็จ





กลุ่มที่ 7  สอนเรื่องชนิดของแปรงสีฟัน

ขั้นนำ:  ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับแปรงสีฟัน

ขั้นสอน: ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีแปรงสีฟันชนิดไหนบ้าง  จากนั้นครูก็มีภาพมาให้เด็กๆดู

แล้วคุณครูก็ให้เด็กนำรูปภาพแปรงสีฟัน มาจับคู่1ต่อ1

ขั้นสรุป: คุณครูถามเด็กว่าแปรงสีฟันที่เหลือมีกี่อัน แร้วแปรงสีฟันที่จับคู่มีกี่อัน









กลุ่มที่  8  สอนเรื่องชนิดของกล้วย

ขั้นนำ:  ครูให้เด็กๆท่องคำคล้องจอง

ขั้นสอน:  ครูนำภาพกล้วยมาให้เด็กๆดู  แล้วถามเด็กๆว่ากล้วยอะไร

ขั้นสรุป:  ครูครูถามว่ากล้วนที่คุณครูนำมาให้ดูมีกี่ชนิด แล้วให้เด็กๆนับตาม





กลุ่มที่  9  เรื่องชนิดของผีเสื้อ

ขั้นนำ:  ท่องคำคล้องจอง

ขั้นสอน:  สอนเรื่องชนิดของผีเสื้อ มีกลางวัน  กลางคืน

ขั้นสรุป:  ครูทำตรางเปรียบเทียบความเหมื่อนความต่าง ระหว่างผีเสื้อกลางวัน กลางคืน


กิจกรรมที่ทำในห้อง


กิจกรรมทาโกยากิ


เตรียมอุปกรณ์ ในการทำทาโกยากิ





เตรียมหลุมหยอดให้พร้อม






นำไข่ที่เตรียมไว้หยอดลงไปในหลุม





รอให้เข้าที่แล้วพลิกกับให้เป็นลูกกลม


กิจกรรมนำเสนองานวิจัย

เพื่อนๆนำเสนอวิจัย

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนแบบจิตปัญญา

วิจัยเรื่อง  ความสามารถของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอก

ห้องเรียน


ประเมิณ

ตัวเรา(oneself)

มีความกระตือรือล้นดี สนใจที่อาจารย์สอน

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆสนใจเรียนดี  ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน

อาจารย์(porfessor)

อาจารย์เตรียมสื่อการเรียนการสอนได้ดี  แต่งตัวสุภาพเรียบร้อยเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา




บทความ


บทความ



สรุปบทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง

     การเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ใช้เป็นสื่อกลาง เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เกิด

คุณภาพตามจุดมุ่ง หมายของหลักสูตรการศึกปฐมวัย ประโยชน์ที่เด็กพึงได้รับคือการได้พัฒนา ความรู้ 

ประสบการณ์ เจตคติและทักษะ กระ บวนการในการแสวงหาความรู้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตสืบต่อไป

ในอนาคตจากการฝีกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง เริ่มจากการที่เด็ก

ฝึกหัดตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏ

อย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย และใน

ขณะที่ปฏิบัติด้วยตน เอง เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คือทักษะการสังเกต ทักษะ

จำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวมีความสำคัญที่ทำให้

เด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ตนเอง

     ความจำเป็นที่เด็กควรได้รับการจัดประสบการณ์ ให้เกิดความสามารถที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ ความ

เข้าใจในประโยชน์ของธรรมชาติและการนำไป ใช้ในการดำรงชีวิต ดังที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าว

ถึงวิทยาศาสตร์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กัน การส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการ 4 ด้านคือ

ด้านร่างกาย  ได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้

ด้านอารมณ์   ได้รับการตอบสนองความต้องการและความมั่นใจของเด็ก

ด้านสังคม      เด็กได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม

ด้านสติปัญญา  รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง






อากาศมหัศจรรย์


  สรุปเรื่อง  อากาศมหัศจรรย์  



รอบๆตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศ มนุษย์ สัตว์ พืช ก็ต้องใช้อากาศในการหายใจ และอากาศสามารถ

อยู่ได้ทุกที่ถึงเรามองไม่เห็นแต่ก็มีอยู่จริง ถึงแม้อากาศจะไม่มีขนาด รูปร่างแต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ได้

ทุกที่ อากาศจะมีตัวตนจริงๆและต้องการที่อยู่แต่เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศจะเคลื่อนตัวออก

ไปทันทีเราจึงรู้สึกว่าไม่มีอากาศรอบๆตัวเรา เพราะอากาศต้องการที่อยู่  อากาศจะทำหน้าที่หนักขึ้น

อยู่กับ อากาศร้อน  อากาศเย็น  อากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบา 

ในอากาศร้อนจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? ในอากาศจะมีการปรับสมดุลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่า

จะพยามลอยขึ้นไปหาอากาศเย็นเพื่อลดความร้อนของตัวเอง ส่วนอากาศเย็นที่หนักกว่าจะลอยลงมา

สวนทางกับอากาศร้อน เพื่อปรับสภาพของตนให้กลายเป็นอากาศที่อบอุ่น และการที่อากาศร้อน

กับเย็นสลับกันขึ้นลงจึงทำให้เกิดปรากฏการทางธรรมชาติ ก็คือลม

เมื่อมีลมพัดผ่านตัวเราทำไม่รู้สึกเย็น? เพราะอากาศเย็นจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนอากาศร้อนคือ

ลมที่พัดผ่านไปแล้วจึงทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย นั้นก็คือลมอากาศเย็นที่พัดเข้ามา

ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้ ซึ้งก็เป็นกรณีเดียวกันกับลมที่พัดเข้ามาจาก

ข้างนอกพอเข้ามาชนกับตัวบ้านของเรากระเเสลมก็พัดกระจายออกไป แต่ถ้าบ้านของเราเปิดหน้าต่าง

กระแสลมก็จะพุ่งทยานจากหน้าต่างเข้ามาห้องของเรา แล้วจึงละบายออกจากช่องอากาศต่างๆ

คุณสมบัติของลมที่เราน่าจะนำมาใช้ประโยชน์

1.แรงดันอากาศ สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การเจาะรูบนกระป่องนม

2.แรงต้านอากาศ ด้านการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ เช่นเวลารถวิ่งก็จะมีลมพัดสวนมา ลมที่สวนมาก็คือ

อากาศที่ต้านรถไม่ให้สวนไปข้างหน้า อากาศมีประโยชน์กับเรามากมายและสำคัญกับเรามาก

นอกจากเราจะใช้หายใจ ยังเป็นหลักในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้มากอีกด้วย

ความลับของแสง


สรุปความรู้เรื่อง  ความลับของแสง




ความสำคัญของแสงสว่าง

        แสงสว่างสามารถทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้  ถ้าไม่มีแสงโลกของเราก็จะอยู่ในความมืด  แสงเป็น

คลื่นชนิดหนึ่งสามารถเคลื่อนที่เร็วมาก คือ 300,000 km/s ถ้าเราสามารถวิ่งเร็วเท่าแสงเราจะวิ่งรอบโลก

ได้ 7 รอบ  แสงช่วยในการมองเห็นของเราอย่างไร? แสงส่องลงมาโดนวัตถุต่างๆ แล้วแสงต้องสะท้อน

จากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาของเรา เราจึงมองเห็นวัตถุนั้นซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับปรับแสงที่

สะท้อนเข้ามาจากวัตถุ  แล้วแสงมาจากที่ไหนบ้าง? ดวงอาทิตย์  สิ่งประดิษฐ์  เช่น หลอดไฟ  ไฟฉาย

คุณสมบัติของแสง            

การเดินทางของแสง  แสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง แสงจะเดิน

ทางเป็นเส้นตรงไปจนถึงวัตถุมากั้นทางเดินของแสง และเเสงจะถูกวัตถุนั้นจะสะท้อนกลับมาเป็นเส้น

ตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาเรา  วัตถุที่แสงผ่านได้  วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติ ต่างกัน

3 แบบคือ 1.แสงทะลุผ่านได้ และแสงสะท้อนกลับมาถึงตาได้  สามารถทำให้เราสามารถมองทะลุวัตถุ

นั้นได้และมองเห็นรูปร่างของวัตถุนั้นคือวัตถุโปร่งแสง 2.วัตถุโปรงใส  ส่วนวัตถุที่ดูดกลื่นแสงบางส่วน

ไว้และสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เราเรียกว่า 3.วัตถุทึบแสง  ซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของ

เรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก ตัวเรา

ทำไมต้องแยกวัตถุโปร่งแสงกับวัตถุโปร่งใส? เพราะวัตถุโปรงแสง แสงจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วน

เท่านั้นเราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่หลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่นกระจกฝ้า  พลาสติกสีขุ่น                     
สำหรับวัตถุโปร่งใสจะเป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน

เช่น กระจกใส  พลาสติกใสดังนั้นวัตถุทั้งสองจะแตกต่างกันตรงที่สามารถผ่านไปได้มาหรือผ่านไปได้

ประโยชน์ของแสง?  จากการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของแสงเรานำมาใช้แทนกล้องถ่ายภาพแบบต่างๆ

ที่ ตัวอย่างการใช้ภาพนิ่งง่ายๆคือกล้องรูเข็ม ภาพที่เกิดขึ้นจากกล้องจะเป็นภาพกลับหัว เพราะแสงเดิน

ทางเป็นเส้นตรงเมื่อผ่านรูเล็กๆ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพกลับหัว แสงส่วนบนเป็นภาพวิ่งของเส้นตรง ผ่านรู

เล็กมากระทบที่ด้านร่างของกระดาษและแสงส่วนล่างของภาพก็วิ่งผ่านตรงรูเล็กมากระทบที่ด้านบน

ของกระดาษ ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพกลับหัว ซึ้งถ้ามีรูเพิ่มขึ้นท่กล่อง 2 รู ก็จะปราฏ ภาพขึ้น 2 ภาพ

ถ้าเจาะหลายๆรูก็จะปรากฏภาพขึ้นหลายๆภาพ เช่นกัน ลูกตาของเรามีรูด้วย? เราเรียกว่ารูรับแสง

เหมือนรูที่กล่องกระดาษ(กล้องรูเข็ม) และภาพที่ผ่านรูรับแสงที่ตาเราก็จะเป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน

และหลักการนี้เราจึงนำมาทำกล้องถ่ายรูป  แล้วทำไมเราจึงเห็นสิ่งต่างๆเป็นปกติ? นั้นก็เพราะว่า

สมองของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติได้อัตโนมัติ

คุณสมบัติของแสง(ต่อ)  การสะท้อนของแสงคือการสะท้อนของแสงจากวัตถุเข้สมาที่ตาเรา 

การสะท้อนของแสงจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?  การสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องมุ่ง

ไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาเสมอและที่เป็นแบบนั้นก็เพราะลำแสงที่สะท้อน

กับพื้นผิวของวัตถุแล้วสะท้อนกลับเป็นมุมที่เท่ากัน

ประโยชน์? ประดิษฐ์กล้องพาราไดโซสโคป ทำให้เกิดภาพสะท้อนขึ้นมากมายเพราะ ใช้หลักการ

สะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก หลักของการสะท้อนแสงยังนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหา

วัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงได้ เช่น กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา

การหักเหของแสง  แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่เพราะว่าแสงจะเดินผ่านวัตถุเมื่อแสงเดินทาง

ผ่านอากาศเข้าสู่กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้า จากนั้น

เมื่อแสงพุ่งจากอากาศแสงจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น  ลักษณะการหักเหของแสงนั้น  จะหักเหเข้าหาแนว

ตั้งฉากกับผิวน้ำเรียกว่า ในทางกลับกันเมื่อแสงเดินทางจากน้ำที่มีความหนาแน่นมากออกสู่อากาศที่มี

ความหนาแน่นน้อย แสงก็จะหักเหออกจากเส้นปกติเหมื่อนกัน

ประโยชน์ของการหักเหของแสง  ประดิษฐ์เลนส์ต่างๆให้โค้งนูนออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการถ่าย

ภาพ   ช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจน  มองเห็นวิวแสงสีต่างๆได้

เงาเป็นสิ่งที่คู่กันกับแสง  เสมอแล้วเงากับแสงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?   เงาเป็นสิ่งที่ตรงข้าม

กับแสงและเงาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากแสง การเกิดเงา  เงาของวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินผ่านเป็น

เส้นตรงไปเรื่อยๆเมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้  พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะถูกกลืนและสะ

ท้อนแสงบางสิ่งออกมาแต่ว่าพื้นที่ด้านหลังของวัตถุนั้นแสงส่องไปไม่ถึง  เลยไม่มีการสะท้อนเกิดขึ้น 

จึงเป็นพื้นที่สีดำและพื้นที่สีดำนี้เราเรียกว่าเงา  และถ้าเราฉายแสงลงไปที่วัตถุหลายๆทางที่จะทำให้เกิด

เงาของวัตถุขึ้นหลายๆด้านเงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสงไว้








วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทินครั้งที่12

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลา 13.10-16.40น.



      วันนี้เพื่อนๆออกมานำเสนอการสอนแผนของแต่ละกลุ่ม เพื่อนๆทำได้ดี แต่ก็มีบางเทคนิคที่

อาจารย์สอดแทรกและสอนเพิ่มเติมเข้าไปแต่ละกลุ่มก็มีการสอนที่แตกต่างกัน

เช่น กลุ่มที่1. สอนเรื่องส่วนประกอบของกบ

-เพื่อนๆก็ได้มีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลง

-ในขั้นสอนเพื่อนๆก็จะมีภาพกบมาให้ดู

กลุ่มที่2. สอนเรื่องประโยชน์ของส้ม

-เพื่อนๆก็ได้มีการเตรียมภาพส้มมาให้ดู

-เพื่อนๆมีภาพประโยชน์ของส้ม ที่นอกจากไว้กินแล้วสามารถนำมาทำอะไรได้อีกบ้าง

กลุ่มที่3.สอนเรื่องประโยชน์ของกะหล่ำปี

-เวลาที่เพื่อนสอนเพื่อนนำเข้าสู่บทเรียนโดยการร้องเพลง

-เพื่อนเล่านิทานเกี่ยวกับกะหล่ำปี

กลุ่มที่4.สอนเรื่องประโยชน์ของดอกมะลิ

-การสอนของเพื่อนก็จะให้ท่องคำคล้องจองที่เพื่อนแต่งเกี่ยวกับดอกมะลิ

-เพื่อนๆนำดอกมะลิที่เตรียมมามาชุบแป้งทำเป็นอาหาร

กลุ่มที่5.สอนเรื่องประโยชน์ของปลาทู

-เวลาเพื่อนสอนเพื่อนจะเเนะนำอุปกรณ์ การทอดปลาทู

อาทิ เช่น กระทะไฟฟ้า ตะหลิ่ว ปลาทู น้ำมัน

-เพื่อนก็สอนวิธีทอดปลาทู

กลุ่มที่6.สอนเรื่องไก่

-เพื่อนจะนำเข้าสู่บทเรียนโดยการท่องคำคล้องจอง

-เพื่อนจะถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็กเรื่องไก่


ความรู้ที่ได้รับ(Information)

วันนี้ได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการสอน  รู้จักการนำเข้าสู่บทเรียน มีหลายวิธี เช่นคำคล้องจอง นิทาน เพลง


ประเมิณ(Evalution)


ตัวเรา(oneself)

วันนี้ผิดพลาดเล็กน้อยเนื่องจากไม่ได้เตรียมการสอนมา

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆมีเทคนิคการสอนดี เข้าใจง่าย

อาจารย์(Porfessor)

อาจารย์ให้เทคนิคในการสอนได้ดี เข้าใจง่าย







บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทินครั้งที่11

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลาเรียน 13.00-16.40น.



วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของตัวเอง

ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตัวเอง ชื่อของเล่นเรือโจรสลัด

อุปกรณ์

ฟองน้ำใหญ่   เชือก  กระดุม  ปืนกาว  กระดาษสี  กรรไกร/คัตเตอร์

สอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

สอนเด็กเรื่องแรงดันน้ำที่กระทำต่อวัตถุ

สอนให้เด็กสังเกตว่าทำไมเรือถึงลอยน้ำได้




รายชื่อของเล่นของเพื่อนๆ

1.รถของเล่น

2.จรวดด้วยแรงเป่า

3.โยนไข่ไม่แตก

4.ไหมพรมเต้นระบำ

5.ป๋องแป๋ง

6.กระป๋องโยกเยก

7.ปลาตากลม

8.โมบายสายรุ้ง

9.ฟองสบู่แสนเพลิน

10.แก้วกระโดด

11.นักดำน้ำ

12.ขวดน้ำหนังสติ๊ก

13.กบกระโดด

14.จรวจหลอดกาแฟ

15.บูมเบอแรง

16.รถหลอดด้าย

17.จั่กจั่น

18.ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง

19.ธนูไม้ไอศรีม

20.กลองแขก

21.ประทัดกระดาษ

22.กระป๋องผิวปาก

23.ประทัดกระดาษ

24.รถล้อเดียว

25.ตุ๊กตาล้มลุก

26.เป่ารถ

27.เรือโจรสลัดลอยน้ำ

28.กังหันบิน

29.เรือใบไม้ล้ม

30.ทะเลในขวด

31.แก้วส่งเสียง

32.แท่นยิง

33.ไก่กระต๊าก

34.เขาวงกต

35.กงจักรมหัศจรรย์

36.หนูวิ่ง


ความรู้ที่ได้รับ(Information)

ได้นำเทคนิคต่างๆ ในการทำสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนมาเป็นแนวทางในการทำสื่อหรือของเล่นแบบง่ายๆ

ในการเอาเกมส์ไปให้เด็กเล่นเรามีหลายวิธีในการเลือกเกมส์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราสอนด้วย

ประเมิณ(Evalution)

ตัวเรา(oneself)

มีความสนใจเรียนดี สามารถนำเทคนิคที่อาจารย์สอนมาปรับใช้กับความรู้เดิมได้

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆให้ความร่วมมือดี มีความสนุกสนานเวลาดูของเล่นที่เพื่อนนำมาเสนอ

อาจารย์(professor)

อาจารย์แนะนำสื่อของเล่นวิทยาศาตร์ของเพื่อนที่เตรียมมาได้ดี บางคนประโยชน์ที่นำมาอาจไม่ตรงกับ

ของเล่น อาจารย์ก็ช่วยแนะนำให้ถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่10

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน104  เวลาเรียน 13.00-16.40 น.






ความรู้เพิ่มเติม(Information)

วันนี้เรามาเรียนชดเชยกัน  อาจารย์ได้สอนความรู้เพิ่มเติมต่อจากเมื่อวันศุกร์ ได้รู้ว่าศิลปะ

สร้างสรรค์คืออะไร

ประเมิน(Evaution)

ตัวเรา(Oneself)

ได้ความรู้เพิ่มเติม จากศุกร์ที่แล้วเกี่ยวกับกิจกรรมการเสริมประสบการณ์ มีความตั้งใจเรียนดี

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆสนุกกับการเรียนการสอน และการตอบคำถาม

อาจารย์(Professor)

อาจารย์สอนสนุก มีมุกบ้างเล็กน้อย ภาษาอังกฤษวันละคำ




บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่9

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลาเรียน 13.10-16.40น.





ความรู้ที่ได้รับ(Information)

วันนี้ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน โดยการร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง

 นิทาน  หรือภาพ และเรียนรู้เรื่องใกล้ตัวเด็ก เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก

ประเมิณ(Evalution)

ตัวเรา(oneself)

มีความตั้งใจเรียนดี จนบันทึกเวลาที่ครูสอน

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆสนใจเรียนดี และจนบันทึกเวลาอาจารย์สอน

อาจารย์(Professor)

อาจารย์สอนและสรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ดี


บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทินครั้งที่8

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104   เวลาเรียน 13.00-16.40น.



วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจาก สอบกลางภาค









บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทินครั้งที่7

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลาเรียน 13.00-16.40น.




ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เพื่อนๆนำเสนอบทความ ดังนี้

เรื่องที่1 สอนลูกเรื่องแสงและเงา

เรื่องที่2 การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

เรื่องที่3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง

เรื่องที่4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย


กิจกรรมที่ทำในห้อง

อุปกรณ์

1.กระดาษ

2.สีเมจิก

3.ดินสอ

4.แกนกระดาษทิชชู

5.กรรไกร

6.เชือก

7.ที่เจาะกระดาษให้เป็นรู

วิธีการทำ

-ตัดแกนทิชชูออกเป็น2ส่วน   

-นำแกนทิชชูมาเจาะรูทั้ง2ข้าง

-วาดรูปใส่กระดาษแล้วตกแต่งให้สวยงาม

-นำรูปมาติดลงในแกนกระดาษทิชชู ด้านขวาง

-นำไหมพรมความยาวหนึ่งช่วงแขนมาร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้งสองรู

การเล่นที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์

เวลาเล่นเราจะนำเชือกข้างหนึ่งสวมคอไว้อีกข้างหนึ่งให้จับกางออก จากการสังเกตว่าเวลาเราเล่นชักขึ้น

ชักลงปรากฏว่าภาพ สามารถเคลื่อนขึ้นลงได้


ความรู้ที่ได้รับ(Information)

วิธีการทำของเล่นให้เด็กปฐมวัย จากวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายและ บทความที่เพื่อนมานำเสนอ

ประเมิณตนเอง(evalution)

ตัวเรา(oneself)

มีความสนใจในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในห้องได้ดี

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆมีความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้ดี

อาจารย์(professor)

อาจารย์เตรียมสื่อการเรียนให้นักศึกษาทำได้ดีมาก ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะมาก






บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 104  เวลาเรียน 13.00-16.40น.


วันนี้เราเรียนเรื่องหน่วยต่างๆ 

อาจารย์ได้ให้เราจับกลุ่มเสนอหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ กลุ่มดิฉันได้นำเสนอหน่วยแปรงสีฟันโดย

ในหน่วยมีหัวข้อการเรียนรู้ดังนี้.......

1.ลักษณะ

2.ชนิด

3.ประเภท

4.ประโยช

5.วิธีการเลือกใช้






หน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มเพื่อน

ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ส้ม

1.ลักษณะ

2.สี

3.สายพันธ์

4.รสชาติ

5.ประโยชน์

6.สรรพคุณ





หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปลา

1.ลักษณะ

2.ชนิด

3.ประโยชน์

4.วิธีการดูแล

5.ข้อจำกัด/โทษ




หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ผีเสื้อ

1.ชนิด

2.โครงสร้าง

3.ประโยชน์

4.พฤติกรรมแปลกๆของผีเสื้อ

5.สวนผีเสื้อในประเทศไทย





หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กะหล่ำปลี

1.สายพันธ์

2.สารอาหาร

3.วิธีการเก็บรักษา

4.ประโยชน์

5.โทษ






หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ไก่

1.ประเภท

2.ส่วนประกอบ

3.อาหาร

4.ประโยชน์

5.ที่อยู่อาศัย






หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ดอกมะลิ


1.ส่วนประกอบ

2.พันธุ์

3.ประโยชน์

4.การดูแลรักษา

5.ข้อพึงระวังโทษ







หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กบ


1.ลักษณะ

2.วงจรชีวิต

3.ประเภทของกบ

4.ที่อยู่อาศัย

5.อาหาร





ความรู้ที่ได้รับ(Information)

วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องหน่วยต่างๆ ได้รู้จักวิธีการเขียนหน่วยการเรียนรู้ เกี่ยวกับหน่วยแปรงสีฟัน  หน่วยกบ  หน่วยปลา  หน่วยไก่  หน่วยดอกมะลิ และอื่นๆ


ประเมิณตนเอง(evalution)

ตัวเรา(oneself)

มีความสนใจเรียนดี ได้ช่วยเพื่อนคิดหน่วย และหัวข้อต่าง

เพื่อน(friend)

เพื่อนๆมีความร่วมมือร่วมใจกันดี สนุกสนานในการทำงานกลุ่ม

อาจารย์(professor)

อาจารย์ให้คำปรึกษาเวลาทำงานดีมาก เวลาไม่เข้าใจอะไรก็จะสอนจะบอก